
6 วิธี แก้ปัญหาสมองล้า
เช็ค 5 สัญญาณเตือนสมองล้า ! !
1. นอนหลับยาก
2. ปวดศรีษะ สายตาพร่ามัว ไม่สดชื่น
3. ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
4. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
5. ขี้หลงขี้ลืม ความจำระยะสั้น
“ ถ้าใช่ .. ถือว่าคุณอยู่ในภาวะสมองล้าแล้ว ..รีบแก้ด่วน ! ”
สมองล้ามีความหมายตรงตัว คือสมองอยู่ในสภาพเหนื่อยล้า เพราะสมองก็คือส่วนหนึ่งของร่างกายเมื่อใช้งานไปนาน ๆ ก็เหนื่อยหมดพลังได้
อาการล้าของสมองมี 2 สาเหตุ
1. ความเครียดในการทำงาน การเรียน ส่งผลทำให้เกิดภาวะเครียดในชีวิตประจำวัน
2.อารมณ์แห่งความขัดแย้งของตัวเองหรือเจอสิ่งที่ไม่ต้องกับความรู้สึกหรือความต้องการของตัวเอง
สมองล้าส่งผลอย่างไร
1. อุณภูมิของสมองสูงขึ้น
เมื่อสมองความร้อนกว่าปกติ เซลล์ประสาทสมองรวมถึงวงจรประสาทจะทำงานได้ไม่เต็มที่ เราจึงรู้สึกสดชื่นเมื่อได้ล้างหน้า หรืออาบน้ำสระผม เพราะได้ลดอุณภูมิของสมองลง
2. สารสื่อประสาทบกพร่อง
สารสื่อประสาทสำคัญทั้ง5 คือโดพามีน (สารสำเร็จ) ชิโรโทนิน(สารสงบ) นอร์อะดรีนาลิน (สารขาลุย) กาบา (สารยับยั้ง) และเอนดอร์ฟิน (สารสำราญ) จะหมดไปเมื่อสมองดึงมาใช้ตลอดเวลา โดยไม่ได้หยุดพักดังนั้นหากสารสื่อประสาทหมดลง สมองจึงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
3. ระบบประสาทสัมผัสผิดปกติ
เมื่อสมองล้าประสาทสัมผัสทั้งหมดของเรามักเกิดความผิดปกติ เช่นสายตาพร่ามัว หูอื้อ เบื่ออาหาร ผิวหนังไวต่อสิ่งเร้า ฯลฯ ความเจ็บป่วยทางกายแบบเรื้อรังก็เป็นสาเหตุสำคัญของอาการเหนื่อยของสมองเช่นกัน
4. ไฮโพทาลามัส (ศูนย์กลางสัญชาตญาณ) ได้รับความเสียหาย
สมองส่วนนี้คือหัวใจหลักของสมองล้า เมื่อกลไกของส่วนนี้เสียสมดุลจึงก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่นโรคหวัดที่มาในช่วงที่ร่างกายอ่อเพลีย
5 วิธีการฟื้นฟูภาวะสมองล้า ! !
1.สร้างความรู้สึกดีต่อติดใจ
คำพูด ข้อความ ความสัมพันธ์ หรือการแสดงออกใด ๆ ที่ดีต่อใจ เช่น การคิดถึงคนที่เรารัก มีผลช่วยในการหลั่งสารซีโรโทนิน (สารสงบ)
สิ่งเร้าจากภายนอก ทั้งคำพูด ข้อความ หนัง/ละคร ข้อมูลออนไลน์ ทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกภายในของเราได้ ดังนั้นการเลือกเสพ หรือรับข้อมูลที่ดีจะช่วยป้องกันภาวะสมองล้าได้
วิธีรับมือเพื่อควบคุมอารมณ์แห่งความรู้สึกขัดแย้ง คือ
ชั้นที่1 เริ่มด้วยการหันหลังให้สิ่งนั้น หรือออกไปจากตรงนั้นสักครู่
ชั้นที่ 2 หายใจเข้าออกลึก ๆ 3 ครั้ง
ชั้นที่ 3 เดินเงียบ ๆ คนเดียว
เมื่อสารชีโรโทนิน (สารสงบ) หลังจากการหายใจเข้าออกลึก ๆ เราจะรู้สึกได้ว่ามีพลังควบคุมอารณ์ที่ดีขึ้น ยิ่งพยายามทนกับสถานการณ์เท่าไหร่ ผลเสียจะสะท้อนกลับยิ่งทวีคูณ สูญเสียพลังสมองโดยไร้ประโยชน์
วิธีพื้นฐานที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูภาวะสมองล้าคือการเข้าหาธรรมชาติ
2. หาเวลาพักร่างกาย
ปลุกพลังประสาทสัมผัสทั้งห้า ด้วยการออกไปพักผ่อน ไปเที่ยวตามธรรมชาติสงบๆ ชีวิตในเมืองมักทำให้เกิดภาวะเครียด สาเหตุส่วนใหญ่มาจากสิ่งเร้าประสาทสัมผัสทั้งห้าที่ไม่ดี เช่นความเร่งรีบในการใช้ชีวิต ไม่มีเวลาพักผ่อน อากาศไม่บริสุทธิ์ อาหารการกินดีไม่พอ
วิธีพื้นฐานที่ดีสุดในการฟื้นฟูภาวะสมองล้าคือ การเข้าหาธรรมชาติ เดินป่าขึ้นเขา สัมผัสน้ำตก ทะเล สายลม ทุ่งหญ้าฯลฯ
3. จัดการอารมณ์โกรธ
สิ่งที่ทำให้สมองล้ามากคือความโกรธ เมื่อรู้สึกโกรธสมองจะกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวของระบบประสาทชิมพาเทติก (ประสาทเร่ง) อย่างรวดเร็ว ทำให้ความดันเลือดสูง หายใจติดขัด หลอดเลือดหดตัว ส่งผลเสียต่อร่างกาย
วิธีการจัดการความโกรธที่ดีที่สุด คือ การให้อภัย ซึ่งต้องใช้การฝึกฝนสติและปัญญา เพื่อปล่อยวาง ถ้ายังไม่สามารถให้อภัยได้ อาจต้องใช้วิธีเบี่ยงเบนความสนใจก่อน คือ ช่างมันเถอะ
4. Slow – Small –Simple
การใช้ชีวิตแบบ Slow – Small –Simple ใช้ชีวิตแบบช้าๆ เรียบง่าย สบายๆ เราการปรับตัวให้สอดคล้องกับธรรมชาติและปัจจัยที่สมดุลของแต่ละคน สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานชีวิต สิ่งใดคือความจำเป็น สิ่งใดคือความต้องการ
- Slow คือการลงมือทำด้วยความละเอียดใส่ใจ ในขณะที่ทำไม่ควรเร่งรีบควรเผื่อเวลาไว้ทำสิ่งนั้นๆ ไม่มีอะไรที่ทำให้สมองล้าเท่ากับการถูกเวลาไล่จี้หรือหนีเส้นตายแบบสุดชีวิต
– Small คือพอใจเท่าที่มี พอดีเท่าที่ใช้ ความรู้สึกที่ไม่รู้จักพอ เช่น เอาอีกๆ ขอที่ดีกว่านี้ ขอใหญ่กว่า สิ่งเหล่านี้มักทำให้สมองอ่อนล้า สิ่งของมากมายรอบตัวที่ไม่ได้ใช้ และไม่เป็นระเบียบส่งผลต่อการรับรู้และความรู้สึกเป็นภาระและส่วนเกิน
– Simple คือ ใช้ชีวิตง่ายๆ อยู่ง่ายกินง่ายไม่เรื่องมาก
5. สร้างพฤติกรรมต่อประสาทพาราชิมพาเทติก
สร้างพฤติกรรมส่งเสริมระบบประสาทพาราชิมพาเทติก(ประสาทพัก) และกระตุ้นการหลั่งชีโทนิน (สารสงบ) เพื่อสุขภาพแข็งแรงและสมาธิดีขึ้นในแบบที่ผ่อนคลาย ไม่เร่งรีบ นอนหลับสนิทและเพียงพอ ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ และรักษาสมดุลการทำงานของลำไส้
6. ระวังสิ่งที่ห้ามทำก่อนเข้านอน
เพื่อการนอนหลับแบบมีประสิทธิภาพทำให้สมองได้ฟื้นพลังเหมือนได้ชาร์จแบต เราจึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ห้ามทำก่อนนอน เช่น งดดูหน้าจอ งดอ่านหนังสือนิยายที่ตื่นเต้น เลี่ยงกินมื้อดึก เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทชิมพาเทติก (ประสาทเร่ง) ให้ตื่นตัวเพิ่มความอ่อนล้าให้ทั้งกายและใจ
กิจกรรมที่ฟื้นฟูภาวะสมองล้า
ได้แก่ ทำสมาธิ เดินเล่น ยึดเส้นยึดสาย ฝึกโยค่ะ แช่น้ำ นวดผ่อนคลาย งีบพักกลางวันเพลิดเพลินกับของว่างและเครื่องดื่ม อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ผ่อนคลาย ฟังเพลงที่ชอบ ทำกิจกรรมที่ให้รู้สึกดี
เพียงแค่เพื่อน ๆ ทำตามวิธี 6 ข้อข้างต้นนี้ ก็จะทำให้ระบบประสาททำงานดีขึ้น ช่วยให้สมองผ่อนคลายจากการที่ทำงานหนักๆ ช่วยให้การดำเนินชีวิตในแต่ละวันของเรามีความสุขและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอีกด้วย
จาก พญ.ตวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ
ผู้เขียน :

ชีวิตไม่มีอะไรเเน่นอน ขนาดซีอิ๊วขาวยังเป็นสีดำ
ออกแบบกราฟิก :

i'm b'fern